ชุดนักเรียนไทยในสายตาคนญี่ปุ่น




RIBBON nante musun jattari shite kawai-nndakorega
ผูกโบว์ สีต่างๆ น่ารักมากกก

yatai no nanika yoku wakaranai mono. gakkou kaeri ni tomodachi to tabearuku
อะไร ซักอย่างจากรถเข็น ไม่ค่อยรู้จัก. กินพลางเดินกลับจากโรงเรียนกับเพื่อน (สงสัยจะเป็นลูกชิ้นจ้ะ ทำไมไม่เดาว่าดังโงะประเทศไทยกันนะ)


yatai no COCONUT MILK
กะทิซื้อจากรถเข็น (ทีงี้เดาว่าเป็นกะทิ โอ้ว เด็กไทยซดกะทิกันเพียวๆ)

kaodachi wa kanari hakkiri shiteiru. angai ni irojiro no ko mo ooizo
หน้าตาน่ารักเกลี้ยงเกลา(เดา) มีเด็กที่ผิวขาวเยอะกว่าที่คิดนะเนี่ย

minna kuro kami
ทุกคน ผมสีดำ

SKIRT wa hize jou desu yone
กระโปรงยาวถึงเข่า เน้อ

omoresagatta RIBBON kawayusu
โบว์ที่ห้อยตรงเสื้อ น่าร้าก

ushiro wa SAILOR ppoi kanji
ด้านหลังให้อารมณ์แบบกะลาสี

suashi haa haa..
เท้าเปล่า หะๆ (- -??)

ROUGH na SANDAL. chanto missetsu ni kawagutsu no ko mo iru.
รองเท้าแตะแบบเรียบ ๆ แต่เด็กที่ใส่รองเท้าหนัง ถุงเท้าพับสามทบก็มีอยู่นะ (สงสัยจะไปเจอเด็กใส่แตะเดินหลังเลิกเรียน)
 

http://board.postjung.com/724568.html

ชุดเครื่องแบบนักเรียน - ต้องดูดีมีเท่


จะเห็นได้ว่าในสังคมไทยปัจจุบัน ค่านิยมเรื่องของการแต่งกายในชุดนักเรียนของวัยเรียนและวัยรุ่น มีค่านิยมในการแต่งกายที่ค่อนข้างล่อแหลม
ชอบนุ่งกางเกงขาสั้น นุ่งกระโปรงเอวสูงและกระโปรงเอวสั้นจนมากเกิน (งาม) ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแต่งกายชุดนักเรียนของเด็กผู้หญิง ที่ค่อนข้างล่อแหลม จนอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อตัวนักเรียนและสถาบันได้ และอาจถูกล่อลวงไปทำอันตรายได้ง่ายกว่าเด็กผู้ชาย
ในปัจจุบันนี้ แฟชั่นชุดนักเรียนของเด็กมัธยมถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราจะสังเกตได้ว่า เด็กนักเรียนผู้หญิงมักจะชอบใส่กระโปรงเอวสูงและสั้น ในขณะที่เด็กผู้ชายชอบใส่กางเกงขาสั้น และนิยมแต่งตัวเลียนแบบวัฒนธรรมของชุดนักเรียนจากต่างชาติ สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ เด็กนักเรียน (ทั้งหญิงและชาย) ถูกมองจากสังคมด้วยทัศนคติใหม่ผ่านชุดนักเรียน เพราะภาพที่แสดงออกมาให้คนทั่วไปเห็นมักจะมองในแง่สื่อความหมายเรื่องเพศเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะของการแต่งชุดนักเรียนชายที่เห็นในปัจจุบันมีอยู่ 3 แบบ คือ ลักษณะแรกการใส่กางเกงขาสั้นสำหรับเด็กผู้ชาย เราจะสังเกตได้ว่ากางเกงมักจะสั้นมากเกินไป มักจะใส่เลยหัวเข่าขึ้นไปประมาณ 5 - 7 เซนติเมตรหรืออาจจะสั้นกว่านั้นจัดอยู่กลุ่มที่เกรียนๆ ลักษณะที่สองก็คือ การใส่กางเกงอยู่ในระดับหัวเข่า เด็กพวกนี้จะจัดอยู่ในส่วนของเด็กเรียนหลังห้อง ลักษณะที่สาม คือ ใส่กางเกงเลยเข่าลงมาจัดอยู่ในกลุ่มเด็กเรียนเก่ง

ส่วนลักษณะการแต่งตัวของนักเรียนหญิงมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกจะนิยมใส่กระโปรงเอวสูงและสั้น โดยปกติแล้วกระโปรงของนักเรียนหญิงส่วนใหญ่ เอวจะอยู่ในระดับของสะดือ แต่ปัจจุบันพบว่าเด็กนักเรียนหญิงมักใส่ยกสูงขึ้น เพื่อทำให้กระโปรงดูสั้นยิ่งขึ้น ส่วนกลุ่มที่สองจะใส่กระโปรงยาวเลยหัวเข่าลงมาและตะขอเกี่ยวกระโปรงจะอยู่ที่ระดับเอวพอดี แต่ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนหญิงมักจะชอบใส่เอวสูง จะอย่างไรก็ตามการแต่งกายชุดนักเรียนไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเด็กนักเรียนจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มไหน จะเป็นกลุ่มเด็กเรียนดี กลุ่มเด็กเรียนเก่งหรือเด็กเรียนหลังห้อง เด็กเกเร แต่ที่สำคัญก็คือ นักเรียนทั้งชายทั้งหญิงจะแต่งตัวให้ถูกต้องเหมาะสมตามกฎระเบียบของโรงเรียนหรือไม่



กระแสชุดนักเรียนในปัจจุบันกลายเป็นแฟชั่นนิยมฮิตในกลุ่มนักเรียนไปทั่วประเทศ ทั้งนักเรียนในเขตตัวเมือง และต่างจังหวัด เรามักจะพบเห็นเด็กนักเรียนกลุ่มนี้อยู่เรื่อยๆ จนสร้างความรู้สึกหวั่นวิตกให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในสังคม
นักเรียนบางคนชอบแต่งตัวแบบไปวันๆ เข้าเรียนบ้าง หนีเรียนบ้าง หรืออยากให้ตัวเองเด่นเหนือกว่าใครๆ อยากเป็นจุดสนใจให้กับเพศตรงข้าม ซึ่งเป็นความคิดส่วนบุคคลที่เราไม่สามารถที่จะไปบังคับไม่ให้เด็กๆ คิดในเรื่องแบบนี้ได้ แต่เมื่อพฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กเป็นเช่นนี้แล้ว เราไม่ควรที่จะปล่อยเอาไว้จนอาจจะส่งผลเสียให้กับตัวเด็กจนกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ดีในสังคมในวันหน้า รวมทั้งยังมีผลกระทบที่ตามมาให้กับสังคมได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การเสพหรือข้องแวะยาเสพติด การเสพติดสิ่งมึนเมา การก่อเหตุทะเลาะวิวาท เป็นต้น
สำหรับปัญหาสังคมเรื่องนี้ ผู้เขียนขอเสนอวิธีแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ก็คือ การมีอาสาสมัครหรือโมเดลตัวอย่างในการแต่งชุดนักเรียนให้ถูกระเบียบของโรงเรียนในแต่ละสถาบัน สนับสนุนให้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และควรมีการจัดคัดเลือกตัวแทนในการแต่งกายที่ถูกต้องเหมาะสมและดูเท่ เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับโรงเรียน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับโรงเรียนและนักเรียนคนอื่นๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการแต่งกายให้ถูกระเบียบมากขึ้น อย่างน้อยการมีพรีเซ็นต์เตอร์ประจำโรงเรียนอาจจะช่วยกระตุ้นให้เด็กนักเรียนได้ตระหนักในเรื่องของการแต่งกายที่ถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติการแต่งกายให้ถูกต้องและเหมาะสมน่ามองสำหรับตัวเองและสังคมไปด้วย

นอกจากนี้ ผู้เขียนหวังว่าการมีกิจกรรมให้กับเด็กๆ ระหว่างการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของมารยาท การแต่งกาย การพูด การทำเคารพ การไหว้ การนั่ง การยืน มารยาทในการรับประทานอาหาร รวมทั้งมารยาททางสังคมอื่นๆ ที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องการเข้าสังคมให้กับเด็กในวัยมัธยมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะเติบใหญ่เป็นพลเมืองดีที่มีมารยาทในสังคมต่อไป
การให้ความรู้แก่นักเรียนคนรุ่นใหม่ถือเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ เพื่อช่วยฝึกให้เด็กเยาวชนเหล่านี้คิดเป็นและคิดดีมากขึ้น การปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในสถาบันมากยิ่งขึ้น และควรจะจัดการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ของโรงเรียน การประชาสัมพันธ์ตามสาย ใบปลิว การติดประกาศที่บอร์ดและควรจัดกิจกรรมการแต่งกายชุดนักเรียนให้มากขึ้น เป็นต้น
สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะฝากถึงผู้เกี่ยวข้องให้ตระหนักก็คือ จะทำอย่างไรที่จะทำให้การแต่งตัวหรือแต่งชุดเครื่องแบบนักเรียนเป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย (แบบคนรุ่นใหม่) ให้มากที่สุด เหมือนเยาวชนลาวหรือเวียดนาม โดยหลีกเลี่ยงการลอกเลียนเอาแบบอย่างตามวัฒนธรรมของต่างชาติ
การแต่งกายที่ถูกต้องเหมาะสมนอกจากจะทำให้เราดูดีมีสกุลขึ้นแล้ว ยังจะทำให้เราได้รับคำชมเชยจากบุคคลอื่นๆ ด้วย ทำให้เรามีคุณค่าในตัวเองเพิ่มมากยิ่งขึ้น ได้รับเกียรติจากสังคม ทำให้เด็กเยาวชนรู้จักและเคารพกติกาของสังคม เรียนรู้ฝึกฝนที่จะเป็นนักเรียนที่ดีและสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างไม่มีปัญหา
ผู้เขียนเชื่อว่าเสื้อผ้าหน้าผมเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากๆ ที่สังคมควรจะช่วยกันสร้างความมั่นใจให้เด็กนักเรียนเยาวชนคนรุ่นใหม่ของสังคมดูดีมีเท่มีเสน่ห์ยิ่งขึ้น และหวังว่าการให้ความสำคัญในเรื่องการแต่งกายของนักเรียนที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้เพื่อนๆ และน้องๆ ได้รู้จักคุณค่าของชุดนักเรียนในแต่ละสถาบันนั้นได้อย่างถูกต้องที่สุด
------------------
ข้อมูลนักเขียน :
นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20140527/584744/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99---%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88.html

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย อังกฤษ และอเมริกา และข้อถกเถียงสากล

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนสังคมไทยจะมีความตื่นตัวมากขึ้นต่อระบบการศึกษาในประเทศ ตั้งแต่เรื่องเนื้อหาแบบเรียน ไปจนถึงเรื่องกฎระเบียบ สังคมไทยเองก็มีการรับรู้และกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมาก อาจเพราะด้วยยุคข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทำให้ประเด็นเล็กๆสามารถถูกจุดให้ติดได้และลุกลามดังไฟทุ่ง
ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้นประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษา ที่มีการถกเถียงกันมากมายระหว่างฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บทความนี้แปลและเรียบเรียงขึ้นจากส่วนหนึ่งในเปเปอร์ของผู้เขียนเรื่อง School Uniform in Thailand; comparing to British and American เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มาของชุดนักเรียนในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่หลายคนมักอ้างถึงเป็นประจำเพื่อเปรียบเทียบและเพื่อให้เห็นการพัฒนาการ ของสังคม ที่อำนาจผ่านกฎระเบียบพยายามเข้าแทรกซึมผ่านเครื่องแบบในระบบการศึกษา
ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย
ชุดนักเรียนของไทยเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยการวางรากฐานการศึกษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2428 โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกประกอบไปไปด้วย 
1. หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
2. เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
3. กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน)
4. ถุงเท้าขาว หรือดำ
5. รองเท้าดำ

ทั้งนี้ ถุงเท้า รองเท้า ในขณะนั้นเป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใช้



เอกสารข้อกำหนดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 และตามด้วย ระเบียบกระทรวงธรรมการ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดรายละเอียดยิบย่อยมากมายตั้งแต่หัว(หมวก)จรด(รอง)เท้า ทั้งของชายและหญิง แยกประเภทโรงเรียน
ข้อกำหนดเรื่องเครื่องแบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสถานการณ์ เช่นในช่วงสงครามโลก เสื้อผ้าขาดแคลน จึงต้องลดกฎระเบียบลงให้น้อยลง

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้กฎระเบียบการแต่งกาย ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง



ความเป็นมาของชุดเครื่องแบบนักเรียนในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
เครื่องแบบนักเรียนในประเทศอังกฤษเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่8 (พ.ศ.2034-2090)โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกนั้นไม่ได้ถูกใส่โดยนักเรียนชั้นสูง หากแต่เป็นนักเรียนยากจนที่ใส่ เพื่อเป็นการแยกระหว่างนักเรียนจากโรงเรียนยากไร้กับโรงเรียนอื่น อีกกว่า300ปีต่อมา ที่นักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลเริ่มมีการใส่เครื่องแบบ โดยเครื่องแบบในสมัยนั้นถูกเรียกว่า “bluecoat” หรือ “เสื้อคลุมสีน้ำเงิน” เพราะเครื่องแบบหลักนั้นคือเสื้อโค๊ทยาวคล้ายแจ๊กเกตสีน้ำเงิน ซึ่งสีน้ำเงินเป็นสีที่ถูกที่สุดในการย้อมผ้าในขณะนั้นและยังเป็นสีซึ่งสื่อถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนอีกด้วย



ในปี 1870 มีการออกระเบียบการศึกษาชั้นต้น 1870 (Elementary Education Act 1870) ทำให้การศึกษาชั้นต้นมีการแพร่หลายในประเทศอังกฤษและเวลส์ เครื่องแบบนักเรียนได้รับความนิยมและแพร่หลายขึ้นมากขึ้น นักเรียนทุกคนมีเครื่องแบบเป็นของตัวเอง เครื่องแบบนักเรียนในยุค 1920’s ประกอบไปได้เสื้อสูทกั๊ก(blazer) เนคไท และกางเกงขายาวสุภาพ
ในปี 1960 ความนิยมของเครื่องแต่งกายชุดนักเรียนเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการปฎิวัติสังคม (social revolution) หลังสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องแบบยิบย่อยที่มีราคาแพงก็ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป บวกกับการปฎิวัติของหนุ่มสาว ในยุค60 แนวคิดทางชนชั้นและระเบียบที่กักกันเสรีภาพถูกท้าทายโดยคนหนุ่มสาว โรงเรียนหลายแห่งยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนลงในที่สุด

ในสหรัฐอเมริกา โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่ไม่มีการบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียน หากจะมีเพียงกฎเล็กๆน้อยๆหรือ dress codes เช่น การกำหนดความยาวของกระโปรงไม่ให้สั้นเกินควร หรือเรื่องรอยสักที่ไม่เหมาะสม (รอยสักรูปโป๊ หรือสัญลักษณ์แก๊ง) อย่างไรก็ดีในช่วงปีที่ผ่านมาอ้างอิงจาก National Association of Elementary School Principals (NAESP) โรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐฯมีการกำหนดเครื่องแบบเพิ่มมากขึ้น จาก3% ในปี 1997 เป็น 21% ในปี 2000 และในปี 2009 มีโรงเรียนถึง 21รัฐ ที่มีการกำหนดให้นักเรียนสวมเครื่องแบบ

อย่างไรก็ดี ทั้งสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ไม่ปรากฎว่ามีกฎข้อบังคับในการแต่งกายในระดับอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัย) แต่อย่างใด
 
ข้อถกเถียงและข้อโต้แย้ง
ข้อถกเถียงเรื่องเครื่องแบบนักเรียนในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีขึ้นในราวปี 1980 โดยมีการยกเหตุผลว่าการมีเครื่องแบบนักเรียนนั้นเป็นการลิดรอนกักกันความคิดแบบปัจเจกและเสรีภาพในการแสดงออก ถึงแม้ว่าฝ่ายสนับสนุนจะยกเหตุผลว่าการมีอยู่ของเครื่องแบบนั้นจะทำให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนลดแรงกดดันจากค่านิยมแฟชั่นและเป็นการประหยัดเงินในการหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ
ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้เครื่องแบบนั้นอ้างว่าการใส่เครื่องแบบ จะทำให้ผู้เรียนสนใจกับการเรียนมากกว่ามัวแต่สนใจชุดที่ใส่ และการทำงานเมื่อเรียนจบหลายแห่งก็มีเครื่องแบบของบริษัทที่บังคับ การมีเครื่องแบบก็จะทำให้นักเรียนได้เตรียมตัวไปสู่การทำงานในอนาคต ทั้งนี้ความสำคัญของเครื่องแบบอีกอย่างหนึ่งคือมันจะทำให้ความรุนแรงในสังคมลดลงไปด้วย เช่นกลุ่มอันธพาลก็จะไม่สามารถแยกแยะเด็กออกได้ว่าอยู่กลุ่มที่เป็นอริกันหรือปล่าว (ในอเมริกานั้นกลุ่มแก๊งค์จะมีชุดเสื้อผ้าประจำกลุ่ม)
อย่างไรก็ดี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใส่ชุดนักเรียนนั้นให้เหตุผลว่า มันเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเหนือร่างกายของเด็กที่จะเลือกว่าสิ่งไหนเหมาะสมและน่าสนใจต่อเขา ทั้งนี้การต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนหาใช่การประหยัดไม่ หากแต่เป็นการเพิ่มภาระโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีลูกหลายคน การอ้างเรื่องลดความรุนแรงของกลุ่มอันธพาลนั้นก็เหลวไหล เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเครื่องแบบนั้น อันธพาลก็พร้อมที่จะทำร้ายหรือใช้ความรุนแรงได้ทุกเมื่ออยู่ดี
จะเห็นได้ชัดว่าหากมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย ข้อถกเถียงเหล่านี้ ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในหน้าสื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน หากแต่จะมีเรื่องเกียรติศักดิ์ศรีพ่วงท้ายเข้ามาด้วย ฝ่ายสนับสนุนมักยกประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษาพระราชทาน หรือความภาคภูมิใจต่อสถาบันการศึกษา โดยที่ไม่สนใจประเด็นสากลอย่างสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย และการแสดงออก ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยฝ่ายสนับสนุนมักจะเป็นบุคคลจำพวกที่ไม่เดือดเนื้อร้อนกระเป๋าต่อค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องแบบอันมีเกียรติ แต่ไม่เคยนึกถึงอีกหลายคนที่เดือดร้อนต่อภาระนี้ ดังจะเห็นได้จากข่าวที่ผู้ปกครองหลายคนแห่กันเข้าโรงรับจำนำในช่วงก่อนเปิดเทอม เพื่อหาซื้ออุปกรณ์และชุดเครื่องแบบให้ลูกหลาน
การถกเถียงเรื่องการมีอยู่ของเครื่องแบบนักเรียนนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องทั้งในสหรัฐอเมริกาและไทย มันได้ก้าวล่วงและส่งผลสะเทือนตั้งแต่ปัญหาความปลอดภัยของเด็กไปจนถึงเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล ประเด็นสิทธิและสาธารณประโยชน์ถูกยกมาถกเถียงกันมากที่สุดในสหรัฐฯ ต่างจากในไทยที่มักยกเรื่องเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจที่ฟังดูเป็นเรื่องที่ตื้นเขินพอสมควรมาเป็นประเด็นหลักของฝ่ายสนับสนุน

http://www.prachatai.com/journal/2013/09/48726

ทำไมต้องใส่เครื่องแบบนักเรียน ชุดนักเรียนนักศึกษา

ปัญหาเรื่องการให้นักเรียนต้องสวมใส่ เครื่องแบบนักเรียน นั้นในปัจจุบันนี้เกิดข้อถกเถียงกันมากมายว่านักเรียนควรจะใส่ เครื่องแบบนักเรียนดีหรือไม่? หรือว่าจะให้ใส่ชุดอะไรก็ได้ตามใจของนักเรียน ปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมากจะควรตัดสินใจอย่างไรดี เราจึงได้นำข้อดีและข้อเสียของการใส่เครื่องแบบนักเรียนมาให้พิจารณากันคะว่า ?ทำไมต้องใส่เครื่องแบบนักเรียน ชุดนักเรียนนักศึกษา


- ดูมีความเป็นมืออาชีพ
บางคนบอกว่าเด็กในชุดนักเรียนดูแล้วจะต้องใช้เวลาเรียนหนังสือในโรงเรียนอย่างจริงจัง มันเป็นเหมือนว่าเมื่อนักเรียนใส่เครื่องแบบนักเรียนแสดงว่านักเรียนจะต้องไปโรงเรียนเช่นเดียวกับพ่อใส่ชุดทำงานเพื่อที่จะไปที่ทำงาน
- ส่งเสริมระเบียบวินัยที่ดี
หลายคนคิดว่าเครื่องแบบนักเรียนช่วยให้นักเรียนรักษาวินัยในโรงเรียนและช่วยลดปัญหาด้านระเบียบวินัยของเด็กนักเรียนลงได้ เหตุผลคือว่าเด็กในปัจจุบันนี้ะขาดวินัยในตนเองเพราะพ่อแม่ปฏิเสธที่จะลงโทษพวกเขา ซึ่งเมื่อครูจัดการกับชั้นเรียนที่มีนักเรียน 25-30 คนในช่วงเวลาพร้อมกันนั้นได้อย่างยากลำบาก
- ลดความรุนแรงและการต่อสู้
มีการสำรวจว่าถ้านักเรียนสวมใส่เครื่องแบบนักเรียนจะมีโอกาสที่ลดความรุนแรงและการทะเลาะกันของนักเรียนเมื่อเปรียบกับการให้นักเรียนสวมใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่นหรือตามสบาย เด็กนักเรียนมักจะล้อเลียนเพื่อนนักเรียนที่ไม่มีเสื้อผ้าทันสมัย เด็กนักเรียนผู้ที่ไม่สามารถจะซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมได้มักจะไวต่อความรู้สึกเกี่ยวกับเสื้อผ้าของพวกเขา ดังนั้นจะเห็นว่าเครื่องแบบนักเรียนช่วยจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างง่ายดาย เพราะว่านักเรียนทุกคนสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมือนกันหมด
- การถูกเรื่องแฟชั่นรบกวนสมาธิ
พ่อแม่หลายคนเชื่อว่าการสวมใส่เครื่องแบบนักเรียนของโรงเรียนจะทำให้นักเรียนดูดีกว่าที่ใส่ชุดตามสบายและการใส่ชุดนักเรียนก็สามารถทำให้แน่ใจว่าเด็กจะมาถึงโรงเรียนในเสื้อผ้าที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าแฟชั่นอาจจะทำให้นักเรียนดูแต่งตัวไม่เรียบร้อย ดป๊ หรือเปิดเผยมากเกินไป นักเรียนบางคนเป็นพวกโชว์แฟชั่นโชว์ที่ไม่รู้จักจบ ทำให้สมาธิจากการเรียนในห้องเรียนของด็กบางคนใช้เวลาไปมุ่งเน้นที่เสื้อผ้าของพวกเขามากกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียน
- เครื่องแบบนักเรียนมีราคาที่ไม่แพง
ชุดเครื่องแบบนักเรียนจะมีราคาประหยัดกว่าเสื้อผ้าแฟชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการออกแบบเสื้อผ้า และผู้ปกครองยังเห็นว่าชุดเครื่องแบบนักเรียนออกแบบมาให้มีความทนทาน ทนต่อการซักที่บ่อยครั้งและการสวมใส่ และบางโรงเรียนอาจจะมีการจัดจำหน่ายเครื่องแบบนักเรียนเอง ทำให้ราคาที่ผู้ปกครองซื้อชุดนักเรียนถูกกว่าราคาในท้องตลาด
- มีจิตวิญญาณของโรงเรียน
ความรู้สึกเมื่อสวมเครื่องแบบของโรงเรียนช่วยให้บางคนรู้สึกได้ว่ามีจิตวิญญาณของโรงเรียนอยู่ให้ตนเอง และมันยังสามารถสร้างความภาคภูมิใจแก่นักเรียนว่าตัวนักเรียนเองได้เรียนที่โรงเรียนนั้น
- ทำให้เกิดปัญหาด้านระเบียบวินัย
นักเรียนบางคนปฏิเสธกฎระเบียบใด ๆ ที่บังคับให้พวกเขาสวมใส่ชุดเครื่องแบบนักเรียนเพียงเพราะว่าพวกเขาต้องการที่จะทำตามใจของตนเอง พวกเขาปรับเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนของพวกเขาโดยการทำให้แน่นขึ้น ขยายใหญ่ขึ้น สั้นลง หรือยาวขึ้น ซึ่งนั้นจะทำให้เกิดปัญหากับครูที่จะต้องจัดการกับเด็กนักเรียนเหล่านั้น


http://teen.mthai.com/variety/66538.html

ชุดนักเรียน กับ กฏหมายไทย


ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551

          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6  แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน  พ.ศ. 2551  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ดังนี้

ข้อ.1  ระเบียบนี้เรียกว่า“ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน  พ.ศ.2551”

ข้อ.2  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ.3  ให้ยกเลิก
                1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ.  2527
                2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ.  2540
                3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ.  2542
                4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ.  2546

ข้อ.4  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่นักเรียนผู้ซึ่งศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ  เว้นแต่สถานศึกษานั้นจะมีกฎหมายกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้เป็นการเฉพาะแล้ว

ข้อ 5   ลักษณะของเครื่องแบบนักเรียนแบ่งตามระดับและประเภทการศึกษา
    เครื่องแบบนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
    เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
    เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
    เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสามัญศึกษา
    เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีพและระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
    เครื่องแบบนักเรียนสำหรับสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
    เครื่องแบบนักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชน  สอนศาสนาอิสลาม

ข้อ.6  เครื่องแบบนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
                นักเรียนชาย
    เสื้อ ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  หรือคอปกกลม  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กางเกง  ผ้าสีดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่า  หรือสีแดง  ขาสั้น
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นปลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว
             นักเรียนหญิง
     เสื้อ  ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  หรือคอปกกลม  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐบาลใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กระโปรง  ผ้าดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่าหรือสีแดง  แบบจีบรูดรอบตัว  หรือยาวเพียงใต้เข่า  แบบจีบทบรอบเอว  หรือพับเป็นจีบ  ข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นหุ้มหลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว

ข้อ  7  เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
                นักเรียนชาย
    เสื้อ ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  หรือคอปกกลม  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กางเกง  ผ้าสีดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่า  หรือสีแดง  ขาสั้น
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นปลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว
               นักเรียนหญิง
    เสื้อ  ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  คอบัว  หรือคอปกกลาสีผูกด้วยฟ้าผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกลาสี  สีดำหรือสีกรมท่า  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐบาลใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กระโปรง  ผ้าดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่าหรือสีแดง  แบบจีบรูดรอบตัว  หรือยาวเพียงใต้เข่า  แบบจีบทบรอบเอว  หรือพับเป็นจีบ  ข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นหุ้มหลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว

ข้อ  8 เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                นักเรียนชาย
     เสื้อ ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  หรือคอปกกลม  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กางเกง  ผ้าสีดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่า  หรือแบบสุภาพ  ขาสั้น
    เข็มขัด  หนัง  สีดำหรือสีน้ำตาล  หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า  ชนิดหัวกลัด  นักเรียนที่เป็นลูกเสือจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนได้
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นปลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว
               นักเรียนหญิง
    เสื้อ  ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  คอบัว  หรือคอปกกลาสีผูกด้วยฟ้าผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกลาสี  สีดำหรือสีกรมท่า  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐบาลใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กระโปรง  ผ้าดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่าหรือสีแดง  แบบจีบรูดรอบตัว  หรือยาวเพียงใต้เข่า  แบบจีบทบรอบเอว  หรือพับเป็นจีบ  ข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นหุ้มหลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว

ข้อ  9  เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา
                นักเรียนชาย
    เสื้อ ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  หรือคอปกกลม  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กางเกง  ผ้าสีดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่า  หรือแบบสุภาพ  ขาสั้น
    เข็มขัด  หนัง หรือผ้า สีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า  ชนิดหัวกลัด  รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นปลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว
                นักเรียนหญิง
    เสื้อ  ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  คอบัว  หรือคอปกกลาสีผูกด้วยฟ้าผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกลาสี  สีดำหรือสีกรมท่า  แขนสั้น
    เครื่องหมาย  ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐบาลใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    กระโปรง  ผ้าดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่าหรือสีแดง  แบบจีบรูดรอบตัว  หรือยาวเพียงใต้เข่า  แบบจีบทบรอบเอว  หรือพับเป็นจีบ  ข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
    เข็มขัด  หนังหรือผ้า  สีดำ  หัวเข็มขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ชนิดหัวกลัดหุ้มด้วยหนังหรือผ้าสีเดียวกับเข็มขัด
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นหุ้มหลายเท้า  ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
    ถุงเท้าสั้น  สีขาว

ข้อ  10  เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีพและระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
                นักเรียนชาย
    เสื้อ  ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ตผูกเนคไท  แขนสั้นกรือแขนยาว
    เครื่องหมายติดเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาที่อกเสื้อเบื้องขวา
    กางเกง  ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า  แบบสุภาพ  ขายาว
    เข็มขัด  หนังสีดำ  หัวเข็มขัดเป็นโลหะตราของสถานศึกษา
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้น  ชนิดผูก
    ถุงเท้า  สั้น  สีดำ
                นักเรียนหญิง
    เสื้อ  ผ้าสีชาว  แบบคอเชิ้ต  แขนสั้นหรือแขนยาว
    เครื่องหมาย  ติดเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาที่อกเสื้อเบื้องขวา
    กระดปรง  ฟ้าสีดำหรือสีกรมท่า  แบบสุภาพ  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
    เข็มขัด  หนังสีดำ  หัวเบ็มขัดเป็นโลหะตราของสถานศึกษา
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า  มีส้นสูงไม่เกิน  2  นิ้ว

ข้อ  11.  เครื่องแบบนักเรียนสำหรับสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
                นักเรียนชาย
    เสื้อ ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต  หรือคอปกกลม  แขนสั้นหรือแขนยาว
    เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    หมวกใช้หมวกสีขาว (กะปิเยาะห์)หรือหมวกสีดำ(ซอเกาะห์)ในโอกาสอันควร
    กางเกง  ผ้าสีดำ  สีน้ำเงิน  สีกรมท่า  หรือแบบสุภาพ  ขายาว
    เข็มขัด  หนังสีดำ  หัวเข็มขัดเป็นโลหะชนิดหัวกลัดหรือหัวเข็มขัดเป็นตราของสถานศึกษา
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  แบบหุ้มส้น
    ถุงเท้าสั้นสีดำ
              นักเรียนหญิง
    เสื้อ  กรุงสีพื้น  ไม่มีลวดลาย  แบบคอกลมไม่มีปก
    เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  บนเนื้อผ้าด้วยด้านหรือไหม  โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน  สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
    ผ้าคลุมศรีษะ  ผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย  ลักษณะเย็บเป็นถุง  หรือตัดเย็บในลักษณะอื่น  ซึ่งต้องคลุมศรีษะทั้งหมด  เว้นใบหน้า  ชายผ้าคลุมศรีษะคลุมไหล่
    กระโปรงหรือโสร่ง
กระโปรง  ผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย  แบบทรงปลายบาน  ไม่มีจีบ หรือมีจีบหรือเกล็ดความยาว  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมข้อเท้า
    โสร่ง  มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าถุงหรือผ้าโสร่งทั่วไป  เป็นผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย  ขนาดกว้างพอเหมาะ  ไม่ผ่าข้างหรือรัดรูป  เมื่อสวมแล้วชายผ้าโสร่งคลุมข้อเท้า
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีขาว  แบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้า
    ถุงเท้า  สั้นสีขาว

ข้อ  12  เครื่องแบบนักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชน  สอนศาสนาอิสลาม
                นักเรียนชาย
     เสื้อ ผ้าสีขาว  แบบคอเชิ้ต   แขนสั้น
     เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อ  สัญลักษณ์ หรือเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาตามที่สถานศึกษากำหนด  ปักที่อกเสื้อเบื้องขวา
    กางเกงใช้ผ้าสีเดียวกันกับสีผ้าของกางเกงนักเรียนทั่วไปที่ใช้ในสถานศึกษานั้น  ขายยาวระดับตาตุ่ม  ปลายขาพับเข้าด้านใน
    เข็มขัดชนิดหัวกลัด  สำหรับผู้ที่เป็นลูกเสือจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้  หรือหัวเข็มขัดเป็นตราของสถานศึกษา
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำหรือสีน้ำตาล  แบบหุ้มส้นชนิดผูก
    ถุงเท้า  สั้นสีขาว  สีน้ำตาล  หรือสีดำ
               นักเรียนหญิง
    เสื้อ  ผ้าสีขาวคอปกบัว  ผ่าด้านหน้าตลอด  แขนยาว  ปลายแขนจีบรูดมีสาบกว้าง  ไม่เกิน  5  เซนติเมตร  ตัวเสื้อยาวคลุมสะโพก  ไม่รัดรูป
    เครื่องหมาย  ใช้ชื่ออักษรย่อ  สัญลักษณ์ หรือเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาตามที่สถานศึกษากำหนด  ปักที่อกเสื้อเบื้องขวา  c]tzhk8]6,Liukt
    ผ้าคลุมศรีษะ  ใช้ผ้าสีขาวเกลี้ยงไม่มีลวดลาย  หรือสีเดียวกันกับสีผ้าของกระโปรง  สี่เหลี่ยมจัตุรัส  ความยาวด้านละ  100 – 120  เซนติเมตร  ขณะสวมใส่เย็บติดตลอดตั้งแต่ใต้คางจนถึงปลายมุมผ้า
    กระโปรง  ใช้ผ้าสีเดียวกันกับสีผ้าของกระโปรงนักเรียน  ทั่วไปที่ใช้ในถานศึกษานั้น  แบบสุภาพ  พับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมข้อเท้า
    รองเท้า  หนังหรือผ้าใบสีดำ  มีสายรัดหลังเท่าหรือแบบหุ้มส้น  หุ้มปลายเท้า  มีส้นสุงไม่เกิน  2  นิ้ว  ไม่มีลวดลาย
    ถุงเท้า  สั้นสีขาว  ไม่มีลวดลาย  ปลายถุงเท้าไม่พับ

          นักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชน  สอนศาสนาอิสลาม  อาจเลือกแต่งเครื่องแบบนักเรียนตามวรรคหนึ่งหรือตามแบบที่สถานศึกษากำหนดได้ตามความสมัครใจ

ข้อ  13.  ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง  วิธีการ  และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียนดังนี้
    ชนิดและแบบของเครื่องแบบ รวมทั้งจัดทำรูปเครื่องแบบตามระเบียบนี้ไว้เป็นตัวอย่าง
    เครื่องหมายของสถานศึกษา
การกำหนดรายละเอียดตามวรรคหนึ่งให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง  หรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้น  แล้วแต่กรณี  และปรกาศให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบ

ข้อ  14.  สถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณี

ข้อ  15.  สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด  นักศึกษาวิชาทหารหรือแต่งชุดพื้นเมือง  ชุดไทย  ชุดลำลอง  ชุดฝึกงาน  ชุดกีฬา  ชุดนาฏศิลป์  หรือชุดอื่น ๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด  ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสม

ข้อ  16.  ในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสม

ข้อ  17.  นักเรียนซึ่งศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แต่งกายสุภาพ

ข้อ  18.  นักเรียนผู้ใดไม่แต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่ได้รับยกเว้นตามระเบียบนี้ให้สถานศึกษาพิจารณาลงโทษทางวินัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนตามความเหมาะสม

ข้อ  19.  สถานศึกษาใดที่ใช้เครื่องแบบนักเรียนอยู่แล้วตามระเบียบเดิม  หรือใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไป

ข้อ  20.  ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้  และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

                                                ประกาศ ณ วันที่  22  ตุลาคม  พ.ศ.  2551


http://siamuniform.blogspot.com/2013/01/uniform-with-law.html